คำอธิบายศัพท์

1. ค่าตอบแทนรวม

เงินเดือน/ค่าแรง (Basic salary/ Wage)

หมายถึง เงินเดือนที่บริษัทจ่ายให้แก่พนักงานเป็นประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงาน หรือเงินค่าจ้างรายวันที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงาน

ค่าจ้างมูลฐาน (Basic Salary)

หมายถึง ผลรวมของ (1) เงินเดือนหรือเงินค่าจ้างรายวันที่คำนวณเต็มเดือนแล้ว กับ (2) โบนัสคงที่ (Fixed Bonus)

ค่าจ้างรวม (Total Compensation)

หมายถึง ผลรวมของ (1) เงินเดือนหรือเงินค่าจ้างรายวันที่คำนวณเต็มเดือนแล้ว กับ (2) โบนัสคงที่ (Fixed Bonus) และ (3) ค่าจ้างเสริมอื่น ได้แก่ เงินโบนัสผันแปร ค่าตำแหน่ง ค่าวิชาชีพ เงินช่วยค่าอาหาร เงินช่วยค่าเดินทางคงที่ เงินช่วยค่าครองชีพ เป็นต้น

เงินได้รวมค่าตอบแทนความยากลำบาก (Total Earnings)

หมายถึง ผลรวมของ (1) เงินเดือนหรือเงินค่าจ้างรายวันที่คำนวณเต็มเดือนแล้ว กับ (2) โบนัสคงที่ (Fixed Bonus) (3) ค่าจ้างเสริมอื่น ได้แก่ เงินโบนัสผันแปร ค่าตำแหน่ง ค่าวิชาชีพ เงินช่วยค่าอาหาร เงินช่วยค่าเดินทางคงที่ เงินช่วยค่าครองชีพ เป็นต้น และ (4) ค่าตอบแทนความยากลำบาก ได้แก่ ค่ากะ ค่าทำงานกลางคืน ค่าทำงานต่างจังหวัด เงินช่วยค่าเช่าบ้าน เป็นต้น

ค่าตอบแทนรวม (Total Remuneration)

หมายถึง ผลรวมของ (1) เงินเดือนหรือเงินค่าจ้างรายวันที่คำนวณเต็มเดือนแล้ว กับ (2) โบนัสคงที่ (Fixed Bonus) (3) ค่าจ้างเสริมอื่น ได้แก่ เงินโบนัสผันแปร ค่าตำแหน่ง ค่าวิชาชีพ เงินช่วยค่าอาหาร เงินช่วยค่าเดินทางคงที่ เงินช่วยค่าครองชีพ เป็นต้น และ (4) สวัสดิการหลักของบริษัทที่คำนวณมูลค่าเป็นตัวเงิน ได้แก่ มูลค่าวันลาหยุดพักผ่อนประจำปี ค่ารักษาพยาบาล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สวัสดิการกรณีเกษียณอายุ และสวัสดิการกรณีเสียชีวิต


2. รายการค่าจ้างเสริม

# รายการ ITEM คำอธิบาย
1 โบนัสคงที่ Fixed Bonus โบนัสที่บริษัท/องค์กรรับประกันว่าจะจ่ายให้ทุกปี เป็นอัตราคงที่ ไม่ผันแปรตามผลประกอบการ อาจมีการระบุในนโยบายของบริษัทหรือเป็นข้อตกลงร่วมกับสหภาพแรงงาน (สำหรับโบนัสที่จ่ายให้ทุกคนเท่ากัน แต่ต้องพิจารณาผลประกอบการ จัดอยู่ในหัวข้อ "โบนัสผันแปร”
2 เงินโบนัสผันแปร Variable Bonus โบนัสที่ผันแปรตามผลประกอบการของบริษัทและ/หรือผลงานของหน่วยงานและ/หรือพนักงาน
3 ค่าตำแหน่ง Position Allowance ค่าจ้างเสริมสำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะด้านการบริหารจัดการ เช่น ผู้จัดการแผนก ผู้จัดการฝ่าย ผู้อำนวยการฝ่าย เป็นต้น
4 ค่าวิชาชีพ Professional Allowance ค่าจ้างเสริมสำหรับพนักงานในตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้และทักษะด้านวิชาชีพเฉพาะด้าน โดยอาจต้องมีใบประกอบวิชาชีพประกอบ เช่น วิศวกร เภสัชกร เป็นต้น
5 เงินช่วยค่าอาหาร Meal Allowance เงินช่วยค่าอาหารสำหรับพนักงานในวันทำงานปกติ และในสถานที่ปฏิบัติงานหลัก โดยอาจให้เป็นจำนวนเงินคงที่รายเดือน หรือให้ตามจำนวนวันที่พนักงานมาทำงานจริง
6 เงินช่วยค่าเดินทางคงที่ Transportation Allowance เงินช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางไปกลับระหว่างที่ทำงานและที่พักของพนักงาน ให้เป็นจำนวนเงินคงที่ต่อเดือน หรือเป็นเงินช่วยที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางไปกลับประจำวัน เช่น บริษัทตั้งอยู่ใกล้พื้นที่รถไฟฟ้า จึงให้เงินช่วยค่าเงินทางเพื่อลดการใช้รถ หรือบริษัทบางแห่งอาจให้เป็นเงินช่วยค่าจอดรถ เป็นต้น ทั้งนี้ การให้เนื่องจากออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ ไม่จัดอยู่ในหมวดเงินได้เสริม แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายอันเนื่องจากการทำงาน
7 เงินช่วยค่าครองชีพ Cost Of Living Allowance เงินช่วยเพิ่มรายได้ของพนักงานให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจในภาวะที่ค่าครองชีพสูงขึ้น โดยให้เป็นจำนวนเงินคงที่รายเดือน
8 ค่าทักษะที่จ่ายคงที่ Skill Allowance ค่าจ้างเสริมสำหรับพนักงานที่มีทักษะหรือความชำนาญพิเศษด้านใดด้านหนึ่งตามที่บริษัทกำหนด โดยอาจได้ในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อมีทักษะและความชำนาญสูงขึ้น บริษัทบางแห่งอาจกำหนดให้แสดงใบรับรองจากสถาบันต่าง ๆ เป็นหลักฐาน เช่น ใบแสดงผลการสอบ TOEFL ประกาศนียบัตรรับรองทักษะเฉพาะทางด้าน IT เป็นต้น
9 รถและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถสำหรับผู้บริหาร Car/ Car Allowance มูลค่ารถยนต์และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ ได้แก่ ค่าบำรุงรักษาประจำปี ค่าภาษี เป็นต้น โดยบางกรณีบริษัทอาจใช้รถเช่า หรือให้เป็นเงินก้อนทดแทน และค่าใช้จ่ายพนักงานขับรถ ค่าน้ำมัน (กรณีบริษัทให้)
10 เงินจูงใจการขาย Sales Commission & Incentive คอมมิชชั่นและเงินตอบแทนเมื่อขายได้ตามเป้าหมายที่บริษัทกำหนด
11 เบี้ยขยัน Attendance Premium ค่าจ้างเสริมสำหรับจูงใจให้พนักงานมาปฏิบัติงานครบตามวันและเวลาการทำงานปกติ อาจให้เป็นอัตราเดียวหรือขั้นบันไดสำหรับผู้ที่มาปฏิบัติงานสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนด
12 เงินได้ส่วนแบ่งกำไร Profit Sharing เงินจูงใจเพื่อตอบแทนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของพนักงาน ให้เมื่อบริษัทมีกำไรตามที่กำหนดไว้

3. รายการค่าตอบแทนความยากลำบาก

# รายการ ITEM คำอธิบาย
1 ค่ากะ (เฉลี่ยต่อเดือน) Shift Premium เงินที่บริษัทจ่ายเพื่อตอบแทนให้แก่พนักงานที่ต้องปฏิบัติงานเป็นกะตามชั่วโมงการทำงานที่บริษัทกำหนด
2 ค่าทำงานกลางคืน Night Shift Allowance เงินที่บริษัทจ่ายเพื่อตอบแทนให้แก่พนักงานที่ต้องปฏิบัติงานในช่วงกลางคืนเป็นเวลาการทำงานตามปกติ
3 ค่าแสตนบาย Standby Allowance เงินที่บริษัทจ่ายเพื่อตอบแทนให้แก่พนักงานที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเรียกตัวเข้าบริษัทหรือไปปฏิบัติงานที่สถานที่ของลูกค้านอกวันทำงานปกติ
4 ค่าทำงานต่างจังหวัด/พื้นที่ Upcountry Allowance เงินที่บริษัทจ่ายเพื่อตอบแทนให้แก่พนักงานที่ต้องไปปฏิบัติงานประจำที่ต่างจังหวัดหรือต่างพื้นที่จากสำนักงานใหญ่ หรือพื้นที่ที่บริษัทกำหนด
5 ค่าทำงานประจำไซต์งาน Site Allowance เงินที่บริษัทจ่ายเพื่อตอบแทนให้แก่พนักงานที่ต้องไปปฏิบัติงานประจำไซต์งาน เช่น สถาปนิกหรือวิศวกรประจำโครงการก่อสร้างต่าง ๆ
6 เงินช่วยค่าเช่าบ้าน Housing Allowance เงินที่บริษัทจ่ายเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัยของพนักงานเมื่อต้องไปปฏิบัติงานประจำที่ต่างจังหวัดหรือต่างพื้นที่จากสำนักงานใหญ่ หรือพื้นที่ที่บริษัทกำหนด
7 ค่าตอบแทนพื้นที่เสี่ยงภัย Risk area Allowance เงินที่บริษัทจ่ายเพื่อตอบแทนให้แก่พนักงานที่ต้องไปปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยหรือพื้นที่ทุรกันดาร เช่น พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น

คำนิยามกลุ่มอุตสาหกรรมและธุรกิจ

เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry)

กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก ทำป่าไม้ ทำปศุสัตว์ การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
1. ธุรกิจการเกษตร (Agribusiness)
- ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร เพาะปลูก ทำป่าไม้ ประมง ปศุสัตว์ รวมถึงโรงเชือดและชำแหละ
- ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์
- รวมถึงตัวแทนจำหน่ายผลิตผลทางเกษตรเบื้องต้นเพื่อนำไปใช้ต่อในอุตสาหกรรมอื่นๆ
* ยกเว้น ธุรกิจที่เกี่ยวกับปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืชที่เป็นเคมีภัณฑ์และกิจการที่เกี่ยวข้องกับเส้นใย
2. อาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage)
- แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อเป็นอาหารพร้อมปรุงหรือพร้อมรับประทาน ได้แก่ การตัดแต่ง
- และชำแหละเนื้อสัตว์ออกเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ปรุงสุก ดำเนินกรรมวิธีเพื่อการเก็บรักษาสินค้า - ประกอบกิจการร้านอาหาร ตัวแทนจำหน่ายอาหาร
- ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ
- ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรุงรส

สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products)

กลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคต่างๆ ทั้งที่เป็นสินค้าที่จำเป็นและสินค้าฟุ่มเฟือย
3. แฟชั่น (Fashion)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจ เป็นผู้ผลิต ออกแบบ เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า ต่อไปนี้
- เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า เครื่องหนัง และกระเป๋า
- ผู้เจียระไนและแปรรูปอัญมณี และเครื่องประดับต่าง ๆ
- ผู้ผลิตวัตถุดิบสาหรับอุตสาหกรรมนี้ เช่น ผู้ผลิตเส้นใย เส้นด้าย และฟอกหนัง เป็นต้น
4. ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน (Home & Office Products)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าประเภทของใช้ในครัวเรือน หรือสำนักงาน ดังนี้
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายของใช้ในครัวเรือน เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งบ้าน อุปกรณ์กีฬา ของเล่น และเครื่องครัว เป็นต้น
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ส่องสว่าง รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและสำนักงาน เช่น โทรทัศน์ เครื่องเสียง เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น
- ผู้ผลิตของใช้ในสำนักงาน เช่น ปากกา และแฟ้มเอกสารต่าง ๆ
5. ของใช้ส่วนตัวและผลิตภัณฑ์การแพทย์ (Personal Products & Health Care)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจต่อไปนี้
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภคส่วนตัวต่าง ๆ เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ บำรุงผิวพรรณ น้ำหอม ผ้าอ้อม และกระดาษชาระ
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายยา เครื่องมือทางการแพทย์ และสินค้าที่ใช้ไบโอเทคโนโลยี Biotechnology ต่าง ๆ

ธุรกิจการเงินและการลงทุน (Financials & Investment)

กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผู้ให้บริการทางการเงินประเภทต่าง ๆ เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกันภัย เป็นต้น
6. ธนาคาร (Banking)
- ผู้ที่ประกอบธุรกิจธนาคารตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกิจการ ในลักษณะเดียวกันที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายพิเศษ
7. เงินทุนและหลักทรัพย์ (Finance & Securities)
- ผู้ประกอบธุรกิจบริษัทเงินทุน ลิสซิ่ง เช่าซื้อ แฟกเตอริ่ง บัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อการบริโภค บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บรรษัทบริหารสินทรัพย์ และผู้ให้บริการด้านธุรกิจหลักทรัพย์อื่น ๆ (ในกรณีของการเช่าซื้อจะต้องไม่เป็นผู้ให้บริการหรือขายสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยตรง)
8. ประกันภัยและประกันชีวิต (Insurance)
- ผู้ประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ. ประกันภัย พ.ร.บ. ประกันชีวิต รวมทั้งกิจการในลักษณะเดียวกัน ที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายพิเศษ
9. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund & Real Estate Investment Trusts (REITs)
- กองทุนรวมหรือกองทรัสต์ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะนาเงินไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ รายได้มาจากค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไรจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

สินค้าอุตสาหกรรม (Industrials)

กลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจัดจำหน่ายวัตถุดิบทั่วไปที่สามารถนำไปใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม สินค้าขั้นต้นหรือสินค้าขั้นกลาง เครื่องมือและเครื่องจักรต่าง ๆ ที่นำไปใช้ต่อในอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์
10. วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร (Industrial Materials & Machinery)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจ ต่อไปนี้
- ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรและเครื่องมือทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกลหนักหรือเบาฒิ
- อุปกรณ์หรือส่วนประกอบพื้นฐานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ ฉนวนไฟฟ้า และมอเตอร์ต่าง ๆ
- วัตถุดิบที่ใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม
* ยกเว้น บริษัทที่ผลิตเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ได้เฉพาะในหมวดธุรกิจใดหมวดธุรกิจหนึ่งเท่านั้น (ไม่สามารถนำไปใช้กับการผลิตสินค้าในหมวดอื่นได้เลย) ให้จัดอยู่ในหมวดธุรกิจของสินค้า ขั้นปลายนั้น ๆ
11. พลาสติก กระดาษ บรรจุภัณฑ์ ยาง และผ้า (Plastic, Paper, Packaging, Rubber & Fabric)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจ ต่อไปนี้
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายเม็ดและผงพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติกขึ้นรูปต่าง ๆ ยกเว้นการผลิตสินค้าพลาสติกขึ้นรูปเพื่อเป็นอุปกรณ์ ชิ้นส่วน หรือเครื่องประกอบของสินค้าขั้นสุดท้ายหรือกลุ่มสินค้าใดเป็นการเฉพาะ
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายเยื่อกระดาษ กระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษทุกชนิด
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายหมึกสาหรับใช้ในการพิมพ์ต่าง ๆ (แต่ไม่รวมโรงพิมพ์ซึ่งจะอยู่ในหมวด Media & Publishing)
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายบรรจุภัณฑ์และส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งนำไปผลิตบรรจุภัณฑ์ และไม่ได้จัดไว้ในหมวดธุรกิจอื่น ๆ
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายยางทุกชนิด ยกเว้น การผลิตยางขึ้นรูปเพื่อเป็นอุปกรณ์ชิ้นส่วน หรือเครื่องประกอบของสินค้าขั้นสุดท้ายหรือกลุ่มสินค้าใดเป็นการเฉพาะ
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายผ้าทุกชนิด ยกเว้นการผลิตผ้าเพื่อเป็นอุปกรณ์ ชิ้นส่วน หรือเครื่องประกอบของสินค้าขั้นสุดท้ายหรือกลุ่มสินค้าใดเป็นการเฉพาะ
12. เหล็กและโลหะ (Steel & Metal)
- ผู้ผลิต แปรรูป หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็ก หรือมีส่วนประกอบจากเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เช่น สเตนเลส เป็นต้น
- ผู้ผลิต แปรรูป หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์โลหะชนิดต่าง ๆ เช่น ทองแดง เป็นต้น
15. วัสดุก่อสร้าง (Construction Materials)
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและวัสดุตกแต่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะผลิตมาจากวัสดุประเภทใดก็ตาม ที่มิใช่เหล็ก และรวมถึงสุขภัณฑ์

ยานยนต์ (Automotive)

13. ยานยนต์ (Automotive)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจ ต่อไปนี้
- ผู้ผลิตหรือประกอบรถยนต์และยานยนต์ประเภทต่าง ๆ
- ผู้ผลิต ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ประกอบชิ้นส่วนหรืออะไหล่รถยนต์
- ผู้ให้บริการซ่อมบำรุงรถยนต์
- ผู้จัดจำหน่าย และศูนย์จำหน่ายรถยนต์ทั้งมือหนึ่งและมือสอง

ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (Petrochemicals & Chemicals)

14. ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (Petrochemicals & Chemicals)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจ ต่อไปนี้
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสินค้าในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสารเคมี เคมีภัณฑ์พื้นฐาน เคมีภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืช

อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (Property & Construction)

กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ผู้พัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงบริการก่อสร้าง และงานวิศวกรรม
16. วิศวกรรม ก่อสร้าง และเครื่องมือวัด (Engineering, Construction & Instrument)
- ผู้ให้บริการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บ้านจัดสรร อาคารชุด นิคมอุุตสาหกรรม ศูนย์การค้า ถนน สะพาน เป็นต้น รวมถึงการให้บริการรับเหมาตกแต่งภายใน
- ผู้ให้บริการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโครงการก่อสร้าง รวมถึงระบบวิศวกรรมและงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับบริการรับเหมาก่อสร้าง
- ผู้ให้บริการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม และเครื่องมือวัดประเภทอื่น

17. พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Development)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจต่อไปนี้
- ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อขายหรือให้เช่า รวมถึงบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น นิติบุคคลอาคารชุด หมู่บ้าน ที่ดิน เป็นต้น
- ตัวแทนหรือนายหน้าในการขาย หรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์

ทรัพยากร (Resources)

กลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการแสวงหา หรือจัดการทรัพยากรต่าง ๆ เช่น การผลิตและจัดสรรเชื้อเพลิง พลังงาน และการทำเหมืองแร่ เป็นต้น
18. พลังงานและสาธารณูปโภค (Energy & Utilities)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจ ต่อไปนี้
- ผู้ผลิต สำรวจ ขุดเจาะ กลั่น และตัวแทนจำหน่ายพลังงานธรรมชาติในรูปต่าง ๆ เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
- ผู้ให้บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้า ประปา และแก๊ส
19. เหมืองแร่ (Mining)
- ผู้สำรวจแร่ ทำเหมืองแร่ ถลุงแร่ และตัวแทนจำหน่ายแร่โดยแร่เหล่านี้เป็นแร่ธาตุต่าง ๆ ทั้งที่เป็นโลหะ และอโลหะ แต่ไม่รวมถึงแร่ธาตุที่ให้พลังงาน

พาณิชยกรรมและบริการ (Commerce & Services)

กลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจในสาขาการค้าปลีกและค้าส่งสินค้าขั้นสุดท้ายให้แก่ผู้บริโภค และสาขาการบริการต่างๆ ยกเว้น บริการทางการเงิน และบริการด้านข้อมูลสารสนเทศหรือเทคโนโลยี หรือเป็นบริการที่ถูกจัดไว้ในกลุ่มอุตสาหกรรมหรือหมวดธุรกิจอื่นแล้ว
20. การค้าและค้าปลีก (Trading & Retail)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจต่อไปนี้ - ผู้ให้บริการจำหน่ายสินค้าทั้งแบบค้าปลีกและค้าส่งให้แก่ผู้บริโภค ทั้งที่มีหน้าร้านเป็นสถานที่ จัดจำหน่าย เช่น ห้างร้าน ห้างสรรพสินค้า ดิสเคาท์สโตร์ ซุปเปอร์สโตร์ ร้านสะดวกซื้อ และการขายที่ไม่มีหน้าร้าน เช่น การขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- สินค้าที่จำหน่ายต้องเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายสาหรับผู้บริโภค จะเป็นสินค้าจากหลายหมวดก็ได้
21. บริการทางการแพทย์ (Health Care Services)
ผู้ให้บริการทางการแพทย์ ทันตแพทย์ ศัลยกรรมความงาม การฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพทางกายอื่น ๆ
22. สื่อและสิ่งพิมพ์ (Media & Publishing)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจต่อไปนี้
- ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสื่อด้านต่าง ๆ ได้แก่
o สื่อบันเทิง เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ ละคร และรายการบันเทิงต่าง ๆ รวมถึงผู้ให้บริการ ด้านความบันเทิงอื่น ๆ เช่น โรงภาพยนตร์ โรงละคร เป็นต้น
o ผู้กระจายภาพและเสียง เช่น สถานีวิทยุและโทรทัศน์
o ผู้ผลิตและจัดทาสื่อโฆษณาต่างๆ เช่น Advertising Agency
- ผู้้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น โรงพิมพ์ สานักพิมพ์ และผู้ผลิตหนังสือวารสาร หนังสือพิมพ์ และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ
23. บริการเฉพาะกิจ (Professional Services)
- บริษัทที่ให้บริการเฉพาะด้านต่าง ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้หมวดธุรกิจใด เช่น การศึกษา ที่ปรึกษาทางธุรกิจ และผู้ให้บริการบาบัดของเสีย รวมถึงบริการเฉพาะกิจให้กับภาคธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ได้ถูกจัดไว้ในหมวดธุรกิจใด
24. การท่องเที่ยวและสันทนาการ (Tourism & Leisure)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจต่อไปนี้
- ผู้ประกอบการโรงแรมและที่พักชั่วคราวต่าง ๆ และผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น บริษัทนาเที่ยว - ผูู้ประกอบกิจการสถานที่เพื่อการพักผ่อน สันทนาการ และทัศนศึกษา เช่น สวนสัตว์ สถานบันเทิง สถานที่ออกกาลังกาย และสนามกีฬา
25. ขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation & Logistics)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจต่อไปนี้
- ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งในทุก ๆ ช่องทาง เช่น ขนส่งทางอากาศ เช่น สนามบิน และสายการบิน ผู้ให้บริการขนส่งทางน้า เช่น ท่าเรือและบริษัทเดินเรือ ผู้ให้บริการขนส่งทางรถไฟ และการขนส่งทางบกอื่น ๆ และผู้รับส่งสินค้าแบบครบวงจร (Logistics)
- ผู้รับฝากสินค้า ให้เช่าคลังสินค้า และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยี (Technology)

กลุ่มอุตสาหกรรมที่ทาธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นสินค้าขั้นต้น ขั้นกลาง หรือขั้นสุดท้าย และรวมถึง ผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
26. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Components)
- ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไป เช่น IC PCB และ Semiconductor ยกเว้นชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้เฉพาะในคอมพิวเตอร์
27. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication Technology)
ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจต่อไปนี้
- ผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลและการสื่อสาร เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม ดาวเทียม เคเบิล ผู้วางระบบ IT และ ผู้ให้บริการเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต จัดทาหรือออกแบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
- ผู้ผลิต หรือให้บริการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม Server
- ผู้ผลิตและหรือผู้จำหน่ายอุปกรณ์สาหรับเทคโนโลยีนี้ เช่น อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ฮาร์ดแวร์ และชิ้นส่วนเฉพาะของคอมพิวเตอร์ และผู้พัฒนาซอฟท์แวร์"